ความเป็นมา
การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อก้าวข้ามกับดักของประเทศรายได้ปานกลางพร้อมไปกับการลดปัญหาความเหลื่อม ล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ถือเป็นแนวทางการพัฒนาของรัฐบาลปัจจุบันภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดย ที่การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมแก่ ประชาชนทั่วไปนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ยิ่งในการลดทอนปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่าง ชนชั้นและชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายในยุคเศรษฐกิจกิจโลกาภิวัตน์เช่นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพื้นฐานและ เชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ต้องแข่งขันกันโดยใช้ ทักษะความรู้และเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดระบบการกระจาย รายได้ที่เป็นธรรมและเหมาะสมสำหรับประชาชนทั่วไป ในกรณีประเทศไทยนั้นงานวิจัยเช่นนี้ถือว่ายังมีจํานวนอยู่ ค่อนข้างน้อย รวมทั้งการนําเอาแนวคิดดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง อีกทั้ง องค์ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็ยังคงอยู่ในระดับแนวคิดหรือเพิ่งจะเร่ิมต้นดําเนินการในระยะแรกเป็นส่วนใหญ่ เช่น แนวคิดเรื่องระบบภาษีมรดกและภาษีการถือครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นต้น
ดังนั้น การตั้งโจทย์วิจัยเชิงบูรณาการที่มีการพิจารณาปัญหาที่รอบด้าน และมีการใช้ความรู้จาก หลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม กฎหมาย และอื่นๆ จะทําให้สามารถลดข้อผิดพลาดของ นโยบายแบบแยกส่วนด้ ยกตัวอย่างเช่น “ทางเลือกเชิงนโยบายแบบบูรณาการ” จะคํานึงถึงผลกระทบทางลบใน ระยะยาวของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เน้นสิ่งก่อสร้างถาวะหรือมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบ ถาวรที่มากจนเกินไป (ซึ่งล้วนเป็นการลงทุนแบบที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้อีกในภายหลัง: irreversible investment) ทําให้รัฐต้องมีการเตรียมมาตรการป้องกันปัญหาเรื่องการขยายตัวของเมืองที่เกิดจากผลของการเก็ง กําไรที่มีมากเกินควรตั้งแต่ต้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบที่จะตามมาเป็นลูกโซ่ในภายหลัง เช่น ปัญหาเรื่อง พื้นที่เกษตรกรรมที่ถูกทําให้เหลือน้อยลงเกินไปในระยะยาว ปัญหาเรื่องผลกระทบทางด้านราคาและปริมาณ วัตถุดิบที่จะใช้ป้อนให้กับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพื่อการเพิ่มมูลค่า และปัญหาเรื่องผลกระทบที่จะมีต่อช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่มากขึ้นระหว่างเมืองและชนบท เป็นต้น
ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม จะสามารถใช้ประโยชน์ในช่วงเริ่มต้นจากความพร้อมของ บุคลากรจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการรุ่นใหม่จํานวนมากท่ีมีความสามารถและกําลังต้องการพัฒนาความรู้ใหม่ บุคคลากรเหล่านี้จะสามารถทําหน้าที่เป็นแกนกลางให้กับศูนย์ และช่วยประสานงานกับนักวิชาการจากสถาบันอื่นๆทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต่อไปในการผลิตงานวิจัย และเผยแพร่ความรู้ต่อไป
การเกิดขึ้นของศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม ยังจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเผยแพร่ ความรู้ด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศเพื่อไปสู่สาธารณะ และมีความสามารถในการต่อยอดความรู้ไปเป็นนโยบายในระดับประเทศและระว่างประเทศเนื่องจากศูนย์จะ เข้ามาช่วยทําหน้าที่สนับสนุนในการประสานงานกับสื่อสาธารณะและหน่วยงานภาครัฐ และนอกเหนือจากการ ประสานงานกับสื่อและผู้กําหนดนโยบายแล้ว ศูนย์ยังจะทําหน้าที่ประสานงานกับสถาบันวิชาการอื่นๆทั้งในและ นอกประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ ด้วยหวังว่าท้ายที่สุดแล้วการทําหน้าที่ทั้งหมดของศูนย์ จะช่วย สืบสานการพัฒนาความรู้ที่เป็นจุดแข็งของวงวิชาการไทยต่อไป และช่วยใฟ้ความรู้ที่ถูกผลิตอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ ปัจจุบันและในอนาคตกลายเป็นคลังความรู้ที่สำคัญให้กับชนรุ่นหลังของประเทศไทย
นอกจากนี้ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคมยังจะประสานงานกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการจัดการเรียนการสอน ประสานงานกับทางสกว. ในการสนับสนุนทุนการเขียน วิทยานิพนธ์และสาระนิพนธ์ โดยคณะเเศรษฐศาสตร์ใด้การสนับสนุนทุนและให้คําปรึกษา และ สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัยให้การสนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องแก่นักวิจัย/อาจารย์เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและ การทําวิทยานิพนธ์หรือสาระนิพนธ์ดังกล่าว เพื่อการผลิตบัณฑิต ที่จะเป็นบุคคลากรแก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรประชาสังคม และภาควิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมและเป็น ธรรมมากข้ึนในอนาคต
พันธกิจของศูนย์วิจัยฯ
- เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ทั้งที่เกิดจากโครงสร้างด้านการเมืองและเศรษฐกิจและปัจจุยเชิงสถาบันในด้านต่างๆ
- เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงในสภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยจะมีการจัดทำ Inequality Policy Report รวมทั้งติดตามสถานการณ์และข้อมูลที่สะท้อนถึงปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองี่ดินและทุนในประเทศเพื่อนำเสนอการสิเคราะห์สถานภาพความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย รวมไปถึงวิเคราะห์ผลจากนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- สร้างองค์ความรู้เรื่องนโยบายในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องมือทางการคลังและการใช้จ่ายของรัฐในด้านสวัสดิการนการลดหรือบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำ
- เผยแพร่องค์ความรู้ ผ่านการผลิตผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ และการจัดแถลงข่าวปัญหาความเหลื่อมล้ำและผลการศึกษาต่อสาธารณะ
ติดต่อเรา
ชั้น 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200