Research

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการลดความเหลื่อมล้ำ: บทวิเคราะห์ประสบการณ์จากต่างประเทศสำหรับสร้างข้อเสนอให้กับประเทศไทย

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ประเทศไทยได้หันมาเน้นสวัสดิการในรูปแบบนี้มากขึ้น โดยเฉพาะในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้ว่านโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจะถูกมองว่าช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสวัสดิการจากการกระจายทรัพยากรไปที่เฉพาะกลุ่มคนที่ยากจน แต่ก็ยังมีคำถามอยู่มากถึงศักยภาพของนโยบายรูปแบบนี้ในการลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยเพราะยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้จริงหลากหลายประการ การใช้นโยบายรูปแบบนี้ยังเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆที่แวดล้อมระบบสวัสดิการและมีนัยยะสำคัญต่อความเหลื่อมล้ำ ด้วยเหตุนี้ การสำรวจประสบการณ์จากต่างประเทศ ทั้งในด้านของลักษณะการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้ รวมถึงการจัดวางนโยบายเข้ากับสวัสดิการแบบอื่นๆ และที่สำคัญคือการวิเคราะห์นัยยะของการใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนในทางที่แตกต่างกันกับผลในการลดความเหลื่อมล้ำ จะเป็นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการออกแบบระบบสวัสดิการของประเทศไทย โดยเฉพาะในการตอบคำถามว่าจะมีทางเลือกใดบ้างในการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมาใช้อย่างไรเพื่อตอบเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำ ดาวน์โหลดได้ที่ : งานวิจัย

รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ 2564/2565

ปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ภาวะการระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายลงไปหลังจากที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของแทบทุกคนในสังคมมาเป็นเวลามากกว่าสองปีอย่างไรก็ดี ผลกระทบจากภาวะการระบาดที่เกิดขึ้นนั้นยังคงอยู่ บาดแผลจากการต้องสูญเสียรายได้ ชั่วโมงทำงาน การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการสูญเสียทรัพย์สิน ยังคงไม่ได้จางหายไปสำหรับผู้คนจำนวนมากในสังคมไทย ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิด-19 คลี่คลายลงนั้นก็กลับไม่ได้ดีอย่างทีหลายคนคาดหวังเอาไว้ สภาพเหล่านี้สร้างคำถามกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะกลายไปเป็นการฟื้นตัวแบบที่ “ทิ้งคนส่วนหนึ่งไว้ข้างหลัง” หรือไม่ นอกจากนี้ หากมองแต่เพียงพื้นฐานเดิม ปัญหาที่คงเดิมในเรื่องสภาพความเหลื่อมล้ำของประเทศก็ยังคงอยู่เช่นกัน และยังคงเป็นโจทย์สำคัญที่ไม่ได้คลี่คลายลงไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นทิศทางความเหลื่อมล้ำที่จากดัชนีชี้วัดในภาพรวมเสมือนจะดีขึ้น แต่หากมองในรายละเอียดแล้วกลับไม่ได้ดีขึ้นจริง ด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการชะงักงันของรายได้ในกลุ่มชนชั้นกลางระดับบนเป็นสำคัญ ในขณะที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีและด้านสิ่งแวดล้อมก็กำลังกลายเป็นสภาพความเหลื่อมล้ำด้านใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนไทยในอนาคตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านของกลุ่มคนที่ประสบปัญหาคุณภาพชีวิตภายใต้ความเหลื่อมล้ำนั้น เป็นที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มอายุที่กำลังอยู่ในภาวะทางเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือกลุ่มผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนผู้สูงอายุในกลุ่มคนยากจนในสังคมไทยนั้นเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าสังคมสูงอายุนั้นมาถึงประเทศไทยแล้ว และกำลังมาพร้อมกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดระหว่างคนสูงอายุจำนวนมากที่ยากจนกับกลุ่มคนที่เหลือ สภาพความเหลื่อมล้ำในลักษณะนี้สร้างคำถามสำคัญถึงทางออกจากปัญหาที่จะยากมากกว่าการลดความเหลื่อมล้ำในกรณีที่สังคมยังเต็มไปด้วยคนในวัยแรงงานอย่างแน่นอน สภาพปัญหาพื้นฐานเดิม ประกอบกับความท้าทายใหม่ เป็นประเด็นสำคัญที่จะถูกถ่ายทอดในรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำประจำปี 2565 นี้ โดยที่ตัวรายงานจะมุ่งไปที่การสำรวจสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทั้งรายกลุ่ม และรายประเด็น รวมไปถึงสำรวจบทบาทของนโยบายในการลดความเหลื่อมล้ำ และผลกระทบของโควิด-19 ต่อความเหลื่อมล้ำ โดยเนื้อหาเหล่านี้ในรายงานได้รับการสังเคราะห์มาจากงานวิจัยที่ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการในช่วงระหว่างปี 2564-2565 นอกจากนี้ตัวรายงานยังนำเอาข้อเขียนของนักวิจัยที่เป็นสมาชิกของศูนย์วิจัยฯ เพื่อมาเสริมในการวิเคราะห์การจัดการปัญหาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เพื่อสะท้อนให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ดาวน์โหลดได้ที่ : https://drive.google.com/drive/folders/1E2kigPc3rkgm2576TjNKOh3UswxO8bPH

เส้นทางเศรษฐกิจไทย : จากต้มยำกุ้งสู่ต้มกบ

ดาวน์โหลด e-book เส้นทางเศรษฐกิจไทย วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 นอกจากจะสร้างความเสียหายอย่างยิ่งยวดทั้งทางเศรษฐกิจ ชีวิต และสุขภาวะของสังคมไทย และยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงในเร็ววันแล้ว ยังทํา ให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกิจกรรมการเรียนการสอนก็เช่นกัน การเรียนการสอนออนไลน์จึงเข้ามาแทนที่วิธีการแบบปกติหนึ่งในอุปสรรคของการเรียนวิธีนี้คือความล่าช้า หรือการเข้าไม่ถึงสิ่งตีพิมพ์ที่ต้องใช้ประกอบการเรียนการสอนสืบเนื่องจากการปิดมหาวิทยาลัยและหอสมุด ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงถือกํา เนิดขึ้นในรูปแบบ eBook เพื่อเปิดให้นักศึกษาเข้าถึงเอกสารประกอบการศึกษาได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชา “เศรษฐกิจประเทศไทย” ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งผู้เขียนรับผิดชอบ ในแง่นี้ตั้งแต่บทที่ 3 ของ eBook เล่มนี้เป็นต้นไปจึงเคยตีพิมพ์ในต่างกรรมต่างวาระมาก่อนแล้วทั้งสิ้น ยกเว้นบทที่ 2 เท่านั้นที่ผู้เขียนถือโอกาสนี้เขียนขึ้นใหม่เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผู้เขียนถือโอกาสนี้ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความเห็นต่อทางสํานักพิมพ์ว่า เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าเพียงพอแก่การจัดพิมพ์เพื่อการเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อสาธารณชนนอกเหนือไปจากนักศึกษาเท่านั้นยิ่งไปกว่านั้นผู้เขียนขอขอบคุณทุกท่าน ซึ่งมีจํานวนเกินกว่าที่จะกล่าวถึงได้หมดที่ช่วยถกเถียง ให้ข้อมูล กระทั่งช่วยเหลือในงานธุรการต่างๆ แน่นอนว่าความผิดพลาดใดๆ ของหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่ผู้เดียว อภิชาต สถิตนิรามัย

รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ 2563

ในรอบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ก้าวผ่านสถานการณ์มากมายที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพความเหลื่อมล้ำ ในขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การเกิดขึ้นของวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ได้กลายเป็นสภาวะที่ส่งผลกระทบกับประชาชนทุกคนในประเทศ ทำให้ชีวิตทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แน่นอนว่าผลกระทบจากโควิด-19 ย่อมส่งผลให้สภาพความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มต้นผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหลากหลายแง่มุมของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย งานวิจัยของศูนย์ฯครอบคลุมทั้งการติดตามสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การศึกษารากฐานของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การทำความเข้าใจแง่มุมใหม่ๆของความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล แม้ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม ยังได้เดินหน้างานวิจัยเพื่อศึกษาแง่มุมต่างๆข้างต้น ทางศูนย์ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคมจึงได้รวบรวมและทำการสรุปเนื้อหาที่มีประโยชน์กับการติดตามสภาพความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยไว้ในรายงานฉบับนี้ โดยรายงานจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ประกอบไปด้วยส่วนแรก สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ซึ่งสรุปมาจากงานวิจัยที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากชุดข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ ส่วนที่สอง คือองค์ความรู้เรื่องความเหลื่อมล้ำ โดยในส่วนนี้จะเป็นการย่อยข้อค้นพบหลักจากงานวิจัยกว่าสิบชิ้นที่ศูนย์ฯได้มีบทบาทในการสนับสนุน และส่วนสุดท้ายของรายงานนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยจากวิกฤตโควิด-19

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการลดความเหลื่อมล้ำ: บทวิเคราะห์ประสบการณ์จากต่างประเทศสำหรับสร้างข้อเสนอให้กับประเทศไทย

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ประเทศไทยได้หันมาเน้นสวัสดิการในรูปแบบนี้มากขึ้น โดยเฉพาะในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้ว่านโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจะถูกมองว่าช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสวัสดิการจากการกระจายทรัพยากรไปที่เฉพาะกลุ่มคนที่ยากจน แต่ก็ยังมีคำถามอยู่มากถึงศักยภาพของนโยบายรูปแบบนี้ในการลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยเพราะยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้จริงหลากหลายประการ การใช้นโยบายรูปแบบนี้ยังเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆที่แวดล้อมระบบสวัสดิการและมีนัยยะสำคัญต่อความเหลื่อมล้ำ ด้วยเหตุนี้ การสำรวจประสบการณ์จากต่างประเทศ ทั้งในด้านของลักษณะการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้ รวมถึงการจัดวางนโยบายเข้ากับสวัสดิการแบบอื่นๆ และที่สำคัญคือการวิเคราะห์นัยยะของการใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนในทางที่แตกต่างกันกับผลในการลดความเหลื่อมล้ำ จะเป็นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการออกแบบระบบสวัสดิการของประเทศไทย โดยเฉพาะในการตอบคำถามว่าจะมีทางเลือกใดบ้างในการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมาใช้อย่างไรเพื่อตอบเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำ ดาวน์โหลดได้ที่ : นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการลดความเหลื่อมล้ำ  

การสำรวจและการประเมินส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงในประเทศไทยโดยใช้ฐานข้อมูลภาษีเงินได้

การชี้วัดจากข้อมูลการสำรวจสภาพเศรษฐกิจและสังคมบ่งบอกว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในไทยได้ขึ้นสู่จุดสูงสุดในปี 2535 และค่อย ๆ ลดระดับลงในระยะยาว โดยในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 44.5 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 30 ปี อย่างไรก็ตามได้มีผู้วิจารณ์ว่าการชี้วัดดังกล่าวอาจผิดจากความเป็นจริงเป็นอย่างมากเนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูลดังนั้นจึงได้มีงานวิจัยที่พยายามวัดความเหลื่อมล้ำที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่คาดว่าจะเป็นแหล่งที่มาของความเหลื่อมล้ำในระยะหลัง งานวิจัยชิ้นนี้เป็นอีกความพยายามหนึ่งที่จะศึกษาสภาพความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยโดยใช้มุมมองจากความเหลื่อมล้ำในระดับบน เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ให้เข้าถึงฐานข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผู้วิจัยจึงเลือกประมาณส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มคนในระดับบนโดยใช้วิธีการแทรกค่าแบบพาเรโตซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานวิจัยในประเทศต่าง ๆ ถึงแม้ว่าข้อมูลที่สมบูรณ์ยังอยู่ในช่วงของการรวบรวมแต่จากการใช้ข้อมูลเบื้องต้นที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจดังนี้ ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาซึ่งเป็นภาพที่ขัดแย้งจากการชี้วัดจากการสำรวจโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้กลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์อย่างมากจากการเจริญเติบโตทางเศรษกิจในช่วงเวลาดังกล่าวคือกลุ่มคนระดับบนจำนวนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ประการต่อมาคือกลุ่มคนดังกล่าวมีส่วนแบ่งรายได้อยู่ในระดับสูงมากคือ 13%-16% ซึ่งถือว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ผลลัพธ์ประการสุดท้ายคือ นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2555 อาจส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำลดลงได้มาก

การต่อสู้ทางเศรษฐกิจการเมืองของคณะราษฎรเพื่อสร้างความเป็นธรรม

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 การเมืองไทยอยู่ในสภาวะไร้เสถียรภาพเป็นอย่างยิ่ง  การต่อสู้-โต้ตอบทางการเมืองกลับไปกลับมาระหว่างกลุ่มผู้ปกครองเดิมกับผู้ปกครองกลุ่มใหม่นั้นเป็นไปอย่างเข้มข้นและรุนแรงตลอดช่วงเวลา 2475-2500 คำถามที่น่าสนใจจึงมีอยู่ว่า หนึ่ง ทำไมทั้งสองฝ่ายจึงมีการต่อสู้อย่างยืดเยื้อตลอดช่วงเวลา 25 ปี โดยไม่มีการประนีประนอมอย่างจริงจังเกิดขึ้น และ สอง เหตุใดทั้งสองฝ่ายจึงไม่สามารถประนีประนอมกันได้และต้องสู้กันถึงขั้นแตกหัก ทั้งที่การต่อสู้นั้นทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียประโยชน์จากต้นทุนทางตรงที่ทั้งคู่ได้เสียไปในการต่อสู้ และจากค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้มากขึ้นหากการเมืองมีเสถียรภาพ งานวิจัยฉบับนี้จะมุ่งตอบคำถามทั้งสองข้อข้างต้น  โดยตั้งสมมติฐานว่า แม้ฉากหน้าของการต่อสู้อย่างยืดเยื้อจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “คณะเจ้า” กับกลุ่ม “คณะราษฎร” แต่สาเหตุที่แท้จริงนั้นอาจเป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจอันเกิดจากความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความเป็นธรรมของคณะราษฎร ทั้งนี้งานศึกษาฉบับนี้จะศึกษาจากหลักฐานเอกสารชั้นสองในประเด็นการปฏิรูประบบภาษี การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูประบบกรรมสิทธิ์ระหว่างรัฐกับองค์ประมุข และการปฏิรูประบบสวัดิการสังคม (ด้านการศึกษาและการสาธารณสุข) นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน 2475 จนถึงการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ในเดือนกันยายน 2500 โดยใช้กรอบทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองในสาย “rational choice” ทั้งในแบบเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์

มิติความเหลื่อมล้ำแนวนอนของสวัสดิการและภาษีในประเทศไทย: กรณีชั้นรายได้เดียวกันระหว่างภาคเศรษฐกิจในระบบทางการและภาคเศรษฐกิจนอกระบบทางการ

ภาคเศรษฐกิจในระบบที่เป็นทางการหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีการบันทึกรายได้รายจ่าย และรายละเอียดข้อมูลต่างๆอยู่ในระบบทางการ ซึ่งผู้ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ จะมีข้อมูลรายได้ประจำอยู่ในระบบ มีการจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม และหากรายได้ถึงระดับขั้นต่ำที่จะต้องเสียภาษี ก็จะต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ด้วย   ภาคเศรษฐกิจนอกระบบที่เป็นทางการหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการบรรทุกรายได้รายจ่าย และรายละเอียดข้อมูลต่างๆอยู่ในระบบทางการ ซึ่งผู้ที่อยู่นอกระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ อาจจะมีรายได้มากหรือน้อยก็ได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะไม่มีการบันทึกเข้าในระบบ และไม่มีว่าจะมีระดับรายได้เท่าใด ก็มีกฎหมายบังคับให้การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา งานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยจำนวนมาก ได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นความเหลื่อมล้ำแนวตั้ง (Vertical Inequality) หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลที่อยู่กันคนละชั้นรายได้ อันเกิดจากปัจจัยด้านสถานะเศรษฐกิจ สังคม หรือ วัฒนธรรม เป็นต้น  แต่ยังมีงานวิจัยไม่มากนัก ที่ให้ความสนใจในประเด็นความเหลื่อมล้ำแนวนอน (Horizontal Inequality) หรือความเหลื่อล้ำระหว่างบุคคลที่อยู่ในชั้นรายได้เดียวกัน อันเกิดจากปัจจัยในลักษณะเดียวกันกับที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแนวตั้ง เช่น การทำงานอยู่ในระบบและนอกระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ  หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลในองค์กรเดียวกัน มีคุณสมบัติและรายได้ใกล้เคียงกัน แต่มีสถานะบรรจุเข้าในองค์กรที่แตกต่างกัน  ปัจจุบันรัฐบาลมีการช่วยเหลือและสวัสดิการต่างๆ โดยเน้นไปที่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ซึงงานวิจัยที่ผ่านมา (ในหัวข้อวรรณกรรม) แสดงให้ถึงการลดความเหลื่อมล้ำในแนวตั้ง (Vertical Inequity) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของความเหลื่อมล้ำแนวนอน (Horizontal Inequity) อาจพบว่าคนที่มีรายได้น้อยด้วยกัน หรือรายได้ระดับเดียวกัน หากอยู่ในระบบกลับได้รับสวัสดิการสุทธิน้อยกว่าคนที่อยู่นอกระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ  ปรากฏการเช่นนี้ สะท้อนถึงช่องว่างของงานวิจัย […]

1 2