News & Events

นโยบายสวัสดิการยุคหลังโควิด

จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด รัฐบาล จำเป็นต้องสร้างมาตรการป้องกันการระบาดของโรคไวรัส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการเหล่านั้นกลับทำให้เกิดการชะงักของเศรษฐกิจ คนจำนวนมากต้องประสบกับวิกฤตขาดรายได้ วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นช่องว่างของระบบสวัสดิการในสังคมไทย ถึงแม้ภาครัฐจะมีความพยายามในการชดเชยปัญหาการขาดรายได้ในระยะสั้น แต่นโยบายการชดเชยเหล่านั้นก็ไม่ได้กระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับผู้ที่เดือดร้อนได้อย่างทั่วถึง ในงานสัมมนาครั้งนี้จึงเชิญชวนมาพูดคุยถึงประเด็นระบบสวัสดิการในไทย ทั้งในเรื่อง ปัญหาช่องโหว่ของนโยบายสวัสดิการชดเชยรายได้ช่วงโควิด แนวทางการพัฒนานโยบายสวัสดิการของรัฐไทย ข้อถกเถียงเรื่องการใช้นโยบายรายได้ขั้นต่ำพื้นฐาน(Universal Basic Income) และประเด็นทางการคลังในการสร้างระบบสวัสดิการ ช่องโหว่ของนโยบายสวัสดิการชดเชยรายได้ช่วงโควิด โดย รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา จากการที่อาจารย์บุญเลิศได้อยู่ในทีมทำงานวิจัย “คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง” และ โครงการวิจัย “ผลกระทบของโควิด-19 ต่อชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้านและคนจนเมือง” จึงอยากนำเนื้อหาในงานวิจัยเหล่านี้มาเปิดเผยให้เห็นนัยยะของระบบสวัสดิการคนจน จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของคนจนเมืองเหล่านี้พบว่าส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่ทำงานนอกระบบ ซึ่งได้รับสวัสดิการไม่ทั่วถึง โดยมีถึง 31% ของกลุ่มศึกษาที่ไม่มีระบบสวัสดิการอะไรเลยรองรับ เมื่อเกิดวิกฤตคนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง 60% ของคนกลุ่มนี้รายได้หายไปเกือบหมดในช่วงวิกฤต ในขณะที่อีก 31% รายได้ลดลงถึงครึ่งหนึ่ง เมื่อนำมาประมวลเป็นรายได้เฉลี่ยแล้ว ก่อนวิกฤตคนกลุ่มนี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 13,397 บาทต่อเดือน เมื่อเกิดวิกฤตรายได้ของคนกลุ่มนี้เหลือเพียง 3,906 บาทต่อเดือน รายได้ลดลงประมาณ 70.89% การเกิดความโกลาหลที่หน้ากระทรวงการคลังจากผู้ที่ไม่ได้รับการชดเชยรายได้สะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐเองไม่ได้รู้จักคนจนมากนัก ความพยายามในการสกรีนผู้ที่มีสิทธิที่จะได้รับการชดเชยอย่างเข้มข้นส่งผลให้มีผู้ตกสำรวจเป็นจำนวนมาก โดยช่องเดือนเมษายนมีผู้ลงทะเบียนในการรับเงินสำเร็จเพียง 50% และได้รับเงินชดเชยเพียง 12% ภายหลังที่มีแรงกดดันมากขึ้นจึงลดการพิสูจน์ลงส่งผลให้มีผู้ได้รับเงินชดเชยสูงถึง 85% […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : พลังผู้สูงวัย

ในงานวิจัยของศ.ดร.เอื้อมพร พิชัยสนิธได้นำเสนอเรื่องดัชนีพฤฒิพลัง หรือดัชนีพลังผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่าของผู้สูงอายุ โดยพิจารณาตัวชี้วัดสี่ด้านคือด้านสุขภาพกายภาพ การมีส่วนร่วมในสังคม ความมั่นคงในการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เอื้อต่อการสูงอายุอย่างมีคุณภาพ เช่น การอ่านออกเขียนได้ การครอบครองอุปกรณ์ ICT ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นหลักที่นำมาพูดคุยกัน สามอันแรกเป็นมิติที่โดดเด่นและอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ผลการศึกษาค้นพบว่าพลังของผู้สูงอายุลดน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปีพ.ศ. 2557 และ 2560 เมื่อนำความเหลื่อมล้ำในด้านพลังผู้สูงอายุเทียบกับความเหลื่อมล้ำด้านอื่น ๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้จะมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำในมิติของพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคพบว่าแต่ละภูมิภาคมีความเหลื่อมล้ำต่างกัน ความเหลื่อมล้ำทางเพศระหว่างชาย หญิงพบว่าเพศชายจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่า ความเหลื่อมล้ำในมิติของพื้นที่พบว่าพื้นที่นอกเขตเทศบาลจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่าในเขตเทศบาล ส่วนมิติของการศึกษาผู้ที่สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาขึ้นไปจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่าผู้สูงอายุที่สำเร็จการศึกษาน้อยกว่า 1.4 เท่า ในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวจะมีดัชนีสูงอายุสูงกว่าลูกจ้างในองค์กรเอกชนหรือราชการ และกลุ่มที่ทำงานจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่าคนที่อาศัยเงินบำนาญ เป็นต้น สำหรับสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านดัชนีผู้สูงอายุเมื่อเกิดโควิด 19 นั้น อาจพิจารณาได้ในสองประเด็นคือ 1) เรื่องความเพียงพอในเงินออมที่เก็บสะสมมา เชื่อมโยงไปเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ณ ปัจจุบัน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีเงินออมไม่พอ แสดงให้เห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องทำงาน ก่อนที่จะเกิดโควิดสภาพโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมเปราะบางมีความอ่อนไหวอยู่แล้ว เมื่อเจอสถานการณ์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีระบบสวัสดิการหรือโครงข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งรองรับ โดยโครงสร้างภาพรวมผู้สูงอายุที่มีรายได้มาจากบุตรมี 36-37%  และผู้สูงอายุที่ได้รายได้มาจากการทำงานมี 34% ดังนั้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ และหยุดการจ้างงานจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้สูงอายุ สำหรับวิธีการรับมือกับปัญหาเงินออมหรือเบี้ยผู้สูงอายุไม่เพียงพอนั้นในระยะยาวอาจต้องเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชนก่อนที่จะเป็นผู้สูงอายุ […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : ชีวิตคนไร้บ้านและเด็กเปราะบาง

คนไร้บ้านและเด็กเปราะบาง เริ่มต้นนั้นจะเริ่มจากลักษณะประเด็นพื้นฐานของกลุ่มคนไร้บ้านและคนเปราะบาง สำหรับคนไร้บ้านคือกลุ่มคนที่เผชิญภาวะทางปัญหา ลักษณะของการไร้บ้านคือผลลัพธ์ที่เกิดจากปัญหาหลากหลายปัญหาทับถม เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น สภาวการณ์ไร้บ้านจึงเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งของสภาวะปัญหาอันหลากหลายที่คนๆหนึ่งต้องประสบ ในขณะที่เด็กเปราะบางหรือเด็กด้อยโอกาสคือกลุ่มที่มีโอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ง่าย ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาต่างๆหลากมิติที่ทับถมเช่นกัน ในเบื้องต้นของงานสัมมนาครั้งนี้คือจะมาสำรวจผลกระทบของโควิดที่มีต่อกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งนี้จากการสำรวจจำนวนคนไร้บ้านเดิมที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสถานพักพิงของภาครัฐมีประมาณ 2700 คน ซึ่งหากรวมกับคนไร้บ้านที่อยู่ในสถานพักพิงภาครัฐจะมีประมาณ 7-8 พันคน โดยจากการเก็บสถิติอายุขัยเฉลี่ยของคนไร้บ้านในสังคมไทยจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปีซึ่งต่ำกว่าคนในสังคมปกติที่มีอายุขัยเฉลี่ยที่ประมาณ 75 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่คนไร้บ้านเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคติดต่อมากกว่าคนทั่วไปในสังคม ผลกระทบจากโควิด การเกิดขึ้นของโรคระบาดโควิด 19 นั้นเป็นปรากฎการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยและมีผลกระทบรุนแรง รัฐบาลในประเทศต่างๆจึงไม่ได้มีการเตรียมการรับมือที่เพียบพร้อมมากนัก การเกิดขึ้นของโควิดส่งผลให้มีจำนวนคนไร้บ้านหน้าใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากคนจำนวนหนึ่งตกงานและสูญเสียที่อยู่รวมถึงไม่สามารถกลับบ้านได้ ซึ่งคนไร้บ้านหน้าใหม่นี้ไม่ได้มีทักษะในการเอาตัวรอดในปรากฎการณ์ไร้บ้านได้ดีเท่ากับคนไร้บ้านที่เป็นอยู่มานาน(มีความเปราะบางที่หนักกว่า) ถึงแม้ว่ากระบวนการบริจาคและการช่วยเหลือจากคนในสังคมจะส่งผลให้คนไร้บ้านจำนวนมากสามารถเข้าถึงอาหารได้ แต่คนไร้บ้านที่เป็นผู้สูงอายุหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยวแยกตัวจากกลุ่มมีโอกาสสูงที่จะเข้าไม่ถึงอาหารเหล่านั้น มีการคำนวณคาดการณ์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของคนไร้บ้านเป็นหลายสถานการณ์ ตั้งแต่หากภาวะเศรษฐกิจหดตัวลงในระดับเลวร้ายน้อยที่สุดประมาณ 3% คนไร้บ้านจะเพิ่มขึ้นประมาณ 22.03% หากเลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจหดตัวประมาณ 5.6% จะมีคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นประมาณ 30.14% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขการหดตัวทางเศรษฐกิจจากการประเมิณโดยสำนักเศรษฐกิจในที่ต่างๆมีการประเมินความร้ายแรงที่สูงกว่านั้น(เศรษฐกิจหดตัวอย่างน้อย 7%) การหดตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้จะทำให้สถานการณ์ของคนไร้บ้านจะกลับไปสู่สภาวะปกติแบบก่อนหน้านั้นได้ยาก รวมถึงแนวโน้มของการเติบโตของการใช้ automation เข้ามาใช้งานในภาคธุรกิจทำให้แนวโน้มการจ้างงานของแรงงานมีลักษณะที่ยืดหยุ่นระยะสั้นมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีคนว่างงานจำนวนมากขึ้นซึ่งสร้างความเปราะบางต่อความต้านทานต่อปัญหาทางสังคมต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่มี social safety net คนเหล่านี้มีโอกาสมากที่จะกลายเป็นกลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่ […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : แนวทางการศึกษาปฐมวัยสู่วัยรุ่น

โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง คณบดี คณะการศึกษาปฐมวัย และผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ผศ.ดร.ชญานี ชวะโนทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร. วีระชาติ กิเลนทอง             เริ่มต้นกับการคำถามที่ว่าโควิดมีปัญหากับเด็กปฐมวัยอย่างไร สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีการปิดเรียนก่อนโรคระบาด อ.วีระชาติเสนอว่าควรเปิดเทอมและมีวิธีการเปิดเทอมหลายแบบ เช่น เปิดโรงเรียนขนาดเล็กก่อน เนื่องจากกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ และโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนเด็กนักเรียนน้อย ไม่ได้มีความแออัด ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลกระทบทางอ้อมมากกว่า เช่น ผู้ปกครองอาจขาดรายได้ ผู้ปกครองอาจมีความเครียดสูง อาจส่งผลให้เด็กเครียดได้             หากเปิดเทอมไม่ได้ในระยะสั้นอาจไม่มีอะไรน่าห่วงในเรื่องของการเรียนรู้ แต่ที่สำคัญคือผู้ปกครองไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เพราะที่ผ่านมาโรงเรียนช่วยให้ทั้งความรู้และแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ช่วยให้ผู้หญิงสามารถทำงานได้มากขึ้น เมื่อทำงานไม่ได้ก็อาจขาดรายได้ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งปัญหาระยะยาวนั้นน่าเป็นห่วงและการเรียนออนไลน์อาจไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอกับเด็กปฐมวัย เนื่องจากทักษะทางพฤติกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญซึ่งพัฒนาผ่านปฏิสัมพันธ์ในโรงเรียน อย่างไรก็ตามผู้ปกครองควรเลือกได้ว่าจะส่งเด็กไปโรงเรียนได้หรือไม่ ทั้งนี้การเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นส่งผลต่อการพัฒนาทางพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยน้อยมาก             ในส่วนของการเรียนออนไลน์นั้นจากการสำรวจครูส่วนใหญ่มีความกังวลไม่เข้าใจว่าบทบาทของตนต้องทำอย่างไร ผู้ปกครองมองว่าในระยะสั้นอาจไม่มีผลกระทบมาก แต่ในระยะยาวก็มีความกังวลมาก ส่วนในเรื่องของการแจกแทบเลตนั้น ผู้ปกครองมีความต้องการได้เงินสดมากกว่าแทบเลต ที่น่าสนใจคือผลกระทบที่เกิดกับครอบครัวที่อาศัยเงินส่งกลับบ้านเป็นหลักแล้วได้รับเงินน้อยลง ครอบครัวส่วนใหญ่มีสมาชิกที่ไม่สามารถออกไปทำงานได้ และครอบครัวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง              อ.วีระชาติยังเสนอว่าหากเปิดโรงเรียนได้ก็ควรทำ […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : โลกของ top 1%

โลกของ top 1% กลุ่มคน top 1% ในประเทศไทยนั้นมีประมาณ 5.2 แสนคนจากจำนวนคนไทยในกำลังแรงงาน 52 ล้านคน แต่ในกลุ่ม top 1% ก็มีความแตกต่างหลากหลายรวมทั้งความเหลื่อมล้ำในกลุ่มอยู่แบ่งเป็นกลุ่มมหาเศรษฐีซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็ก(เป็น top 1% ของกลุ่ม top 1%)ซึ่งมีรายได้ส่วนมากมาจากปัจจัยทุน และกลุ่มคนรายได้สูงที่มีรายได้จากส่วนแรงงานมากกว่ากลุ่มก่อนหน้า เช่น ผู้บริหารองค์กรระดับสูง CEO จะเห็นได้ว่าแม้แต่กลุ่มคนที่รวยที่สุดยังมีความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่ม เราจึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาดัชนีที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำอย่างดัชนี GINI ซึ่งดัชนี GINI นั้นถึงแม้จะบอกภาพรวมความเหลื่อมล้ำระดับประเทศได้ แต่ไม่สามารถบ่งบอกลักษณะของความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่มชนชั้นและระหว่างชนชั้นได้ รวมถึงไม่ได้บอกถึงพลวัตรของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันการเติบโตของคนกลุ่มรายได้ที่รวยที่สุด 1-2% แรกนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วสร้างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น GINI ไม่ได้ชี้ให้เห็นภาพนี้ได้ชัดเจนนัก ในหลายประเทศจึงมีการสร้างดัชนีมาพิจารณาคนกลุ่มที่รวยที่สุด เช่น การเทียบทรัพย์สินหรือรายได้ของคนที่รวยที่สุด 1% เทียบกับกลุ่มคนที่จนที่สุด 50% แต่อย่างไรก็ตามในการสร้างดัชนีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ต้องพบอุปสรรคที่สำคัญเนื่องจากการสำรวจรายได้มักจะตกหล่นการสำรวจกลุ่มคนที่รวยที่สุด เนื่องจากอาจจะไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่สามารถรายงานสินทรัพย์และรายได้ที่ตัวเองมีทั้งหมดได้ครบ ประวัติศาสตร์ของ top 1% เมื่อย้อนกลับมาดูแนวโน้มของความเหลื่อมล้ำและพลวัตรของกลุ่มคนที่รวยที่สุด 1% ตามประวัติศาสตร์แล้วนั้น พบว่าในช่วงก่อนที่จะมีสงครามโลกนั้น ในประเทศยุโรปมีความเหลื่อมล้ำสูงคนกลุ่มที่รวยที่สุด 1% ครอบครองส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจถึง […]

โควิด 19 กับการออกแบบระบบสวัสดิการใหม่

ประวัติศาสตร์การสวัสดิการในประเทศไทย โดย ดร.ภาคภูมิ แสงกนกกุล ตามข้อค้นพบในบริบทประวัติศาสตร์รัฐไทยถูกนิยามว่าเป็น weak state ในเรื่องบทบาทด้านสวัสดิการเนื่องมาจากการที่รัฐมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรไม่สามารถกระจายทรัพยากรและอำนาจในการปกครองดูแลได้ครบถ้วน เมื่อจัดสรรทรัพยากรเป็นสวัสดิการให้คนกลุ่มน้อยแล้วก็ไม่เหลือสวัสดิการจะจัดสรรให้คนกลุ่มใหญ่ ดังนั้นสังคมไทยปรับตัวสร้างระบบการกุศลขึ้นมาเป็นสวัสดิการชั้นที่สองรองรับผู้ที่ตกหล่นไม่ได้สวัสดิการภาครัฐ นอกเหนือจากกลุ่มการกุศลแล้วสังคมไทยยังมีสถาบันครอบครัว(และชุมชน)เป็นสวัสดิการรองรับเป็นชั้นที่สามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากสวัสดิการสองประเภทก่อนหน้า อย่างไรก็ดีเมื่อระบบเศรษฐกิจพัฒนามากขึ้นเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม ครอบครัวและชุมชนไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะวางตัวเป็นสถาบันสวัสดิการรองรับลำดับสุดท้าย เนื่องมาจากลักษณะของความเป็นปัจเจกที่สูงขึ้น ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ประกอบกับบริบททางการเมืองเศรษฐกิจโลกหลัง 1980 รัฐต้องลดบทบาทในการให้สวัสดิการลง และต้องปล่อยให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ผ่านการสร้างสถาบันอย่างกองทุนประกันสังคม ภายหลังการเกิดวิกฤตในปี 1997 ส่งผลให้บริษัทปิดตัวแรงงานถูกเลิกจ้างงาน กองทุนประกันสังคมไม่สามารถแบกรับสภาวะวิกฤตแรงงานได้ ประกอบกับสถาบันครอบครัวและชุมชนไม่เข้มแข็งเพียงพอจะรองรับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ได้ ในหลายประเทศจึงกลับมาให้ความสำคัญในสิทธิสวัสดิการมากขึ้น ให้รัฐเข้าไปช่วยจัดสรรสวัสดิการให้กับภาคประชาชนโดยหาแหล่งทุนจากระบบภาษี แต่ในประเทศไทยนั้นมีทิศทางที่ต่างออกไปกล่าวคือทุกครั้งที่มีรัฐประหารการจัดสวัสดิการภาครัฐจะย้อนกลับไปใช้ระบบการจัดสรรแบบ authoritarian ซึ่งจัดสรรให้เฉพาะคนกลุ่มน้อย สวัสดิการที่ควรเป็นในช่วงวิกฤตโควิด 19 โดย ดร.ภาคภูมิ แสงกนกกุล ในหลักคิดเบื้องต้นหากจะออกแบบสวัสดิการต้องวางเป้าหมายเพื่อ “ทำให้สวัสดิการสังคมไม่แย่ลงมากนักโดยไม่ติดโรค และต้องพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป” เมื่อได้เป้าหมายก็ต้องมาพิจารณาเครื่องมีในการจัดสรรสวัสดิการนั้นๆ ควรให้เป็นเงินหรือสิ่งของ การให้เป็นเงินสภาพคล่องสูง แต่ผลที่ตามมาอาจจะทำให้เกิดเงินเฟ้อหากอัดฉีดมากเกินไป นอกจากนี้ให้เป็นเงินอาจจะไม่มีประโยชน์มากนักถ้ากลไกตลาดไม่ทำงานในช่วงวิกฤต ในขณะที่การให้ของอาจจะยากที่จะตรงความต้องการ แต่ในพื้นฐานรัฐอาจจะต้องให้แบบผสม เช่น ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย น้ำ ไฟฟ้า หรือเครดิตออนไลน์ นอกจากนี้ต้องมาพิจารณาเป้าหมายที่เราจะให้ว่าควรเจาะจงเฉพาะกลุ่ม ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีข้อมูลติดตามและมั่นใจว่าสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบในพื้นที่จำกัดการให้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างดี หรือจะให้แบบถ้วนหน้าซึ่งแต่ละคนก็จะได้น้อยลงไป แต่เหมาะสมกับสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างและต้องรีบดำเนินการเร่งด่วนในการเยียวยา ซึ่งเหมาะกับสภาวะสภาพปัจจุบันมากกว่า […]

ความเหลื่อมล้ำไทยก่อน หลังโควิด

ความเหลื่อมล้ำไทย 2531 – 2560 โดย ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ       ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ ได้นำเสนอการศึกษาความเหลื่อมล้ำไทยในปี 2531 – 2560 โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (Socio-Economic Survey: SES) ในการศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้ำที่ผ่านมาจะเน้นในมิติเรื่องรายได้ แต่มิติอื่น ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข ทรัพย์สินมักจะพิจารณาแยกกันในการศึกษานี้จะพิจารณาความเหลื่อมล้ำทั้งหกมติได้แก่ รายได้ การศึกษา การสาธารณสุข สินค้าคงทน ทรัพย์สินทางการเงิน และเทคโนโลยี โดยมิติด้านรายได้นั้น ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มค่อนข้างสูง แต่ในช่วงปี 2530 ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มลดลง โดยขึ้นมาเล็กน้อยในปี 2547- 2549 จนในช่วงปี 2560 ความเหลื่อมล้ำมีเกณฑ์เพิ่มขึ้นในปี เช่นเดียวกับในปี 2562 ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกันในแต่ละภูมิภาค จะพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีความแตกต่างกับภาคอื่น ทิศทางของความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นในสองภาคนี้ อย่างไรก็ตามภาคอื่นๆ ก็มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พบว่าในสามทศวรรษที่ผ่านมาไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก ในภาพรวม ไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่ ส่วนในภูมิภาค […]

1 2 3