Kan

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการลดความเหลื่อมล้ำ: บทวิเคราะห์ประสบการณ์จากต่างประเทศสำหรับสร้างข้อเสนอให้กับประเทศไทย

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ประเทศไทยได้หันมาเน้นสวัสดิการในรูปแบบนี้มากขึ้น โดยเฉพาะในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้ว่านโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจะถูกมองว่าช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสวัสดิการจากการกระจายทรัพยากรไปที่เฉพาะกลุ่มคนที่ยากจน แต่ก็ยังมีคำถามอยู่มากถึงศักยภาพของนโยบายรูปแบบนี้ในการลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยเพราะยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้จริงหลากหลายประการ การใช้นโยบายรูปแบบนี้ยังเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆที่แวดล้อมระบบสวัสดิการและมีนัยยะสำคัญต่อความเหลื่อมล้ำ ด้วยเหตุนี้ การสำรวจประสบการณ์จากต่างประเทศ ทั้งในด้านของลักษณะการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้ รวมถึงการจัดวางนโยบายเข้ากับสวัสดิการแบบอื่นๆ และที่สำคัญคือการวิเคราะห์นัยยะของการใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนในทางที่แตกต่างกันกับผลในการลดความเหลื่อมล้ำ จะเป็นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการออกแบบระบบสวัสดิการของประเทศไทย โดยเฉพาะในการตอบคำถามว่าจะมีทางเลือกใดบ้างในการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมาใช้อย่างไรเพื่อตอบเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำ ดาวน์โหลดได้ที่ : งานวิจัย

รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ 2564/2565

ปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ภาวะการระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายลงไปหลังจากที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของแทบทุกคนในสังคมมาเป็นเวลามากกว่าสองปีอย่างไรก็ดี ผลกระทบจากภาวะการระบาดที่เกิดขึ้นนั้นยังคงอยู่ บาดแผลจากการต้องสูญเสียรายได้ ชั่วโมงทำงาน การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการสูญเสียทรัพย์สิน ยังคงไม่ได้จางหายไปสำหรับผู้คนจำนวนมากในสังคมไทย ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิด-19 คลี่คลายลงนั้นก็กลับไม่ได้ดีอย่างทีหลายคนคาดหวังเอาไว้ สภาพเหล่านี้สร้างคำถามกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะกลายไปเป็นการฟื้นตัวแบบที่ “ทิ้งคนส่วนหนึ่งไว้ข้างหลัง” หรือไม่ นอกจากนี้ หากมองแต่เพียงพื้นฐานเดิม ปัญหาที่คงเดิมในเรื่องสภาพความเหลื่อมล้ำของประเทศก็ยังคงอยู่เช่นกัน และยังคงเป็นโจทย์สำคัญที่ไม่ได้คลี่คลายลงไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นทิศทางความเหลื่อมล้ำที่จากดัชนีชี้วัดในภาพรวมเสมือนจะดีขึ้น แต่หากมองในรายละเอียดแล้วกลับไม่ได้ดีขึ้นจริง ด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการชะงักงันของรายได้ในกลุ่มชนชั้นกลางระดับบนเป็นสำคัญ ในขณะที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีและด้านสิ่งแวดล้อมก็กำลังกลายเป็นสภาพความเหลื่อมล้ำด้านใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนไทยในอนาคตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านของกลุ่มคนที่ประสบปัญหาคุณภาพชีวิตภายใต้ความเหลื่อมล้ำนั้น เป็นที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มอายุที่กำลังอยู่ในภาวะทางเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือกลุ่มผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนผู้สูงอายุในกลุ่มคนยากจนในสังคมไทยนั้นเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าสังคมสูงอายุนั้นมาถึงประเทศไทยแล้ว และกำลังมาพร้อมกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดระหว่างคนสูงอายุจำนวนมากที่ยากจนกับกลุ่มคนที่เหลือ สภาพความเหลื่อมล้ำในลักษณะนี้สร้างคำถามสำคัญถึงทางออกจากปัญหาที่จะยากมากกว่าการลดความเหลื่อมล้ำในกรณีที่สังคมยังเต็มไปด้วยคนในวัยแรงงานอย่างแน่นอน สภาพปัญหาพื้นฐานเดิม ประกอบกับความท้าทายใหม่ เป็นประเด็นสำคัญที่จะถูกถ่ายทอดในรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำประจำปี 2565 นี้ โดยที่ตัวรายงานจะมุ่งไปที่การสำรวจสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทั้งรายกลุ่ม และรายประเด็น รวมไปถึงสำรวจบทบาทของนโยบายในการลดความเหลื่อมล้ำ และผลกระทบของโควิด-19 ต่อความเหลื่อมล้ำ โดยเนื้อหาเหล่านี้ในรายงานได้รับการสังเคราะห์มาจากงานวิจัยที่ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการในช่วงระหว่างปี 2564-2565 นอกจากนี้ตัวรายงานยังนำเอาข้อเขียนของนักวิจัยที่เป็นสมาชิกของศูนย์วิจัยฯ เพื่อมาเสริมในการวิเคราะห์การจัดการปัญหาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เพื่อสะท้อนให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ดาวน์โหลดได้ที่ : https://drive.google.com/drive/folders/1E2kigPc3rkgm2576TjNKOh3UswxO8bPH

เส้นทางเศรษฐกิจไทย : จากต้มยำกุ้งสู่ต้มกบ

ดาวน์โหลด e-book เส้นทางเศรษฐกิจไทย วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 นอกจากจะสร้างความเสียหายอย่างยิ่งยวดทั้งทางเศรษฐกิจ ชีวิต และสุขภาวะของสังคมไทย และยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงในเร็ววันแล้ว ยังทํา ให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกิจกรรมการเรียนการสอนก็เช่นกัน การเรียนการสอนออนไลน์จึงเข้ามาแทนที่วิธีการแบบปกติหนึ่งในอุปสรรคของการเรียนวิธีนี้คือความล่าช้า หรือการเข้าไม่ถึงสิ่งตีพิมพ์ที่ต้องใช้ประกอบการเรียนการสอนสืบเนื่องจากการปิดมหาวิทยาลัยและหอสมุด ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงถือกํา เนิดขึ้นในรูปแบบ eBook เพื่อเปิดให้นักศึกษาเข้าถึงเอกสารประกอบการศึกษาได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชา “เศรษฐกิจประเทศไทย” ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งผู้เขียนรับผิดชอบ ในแง่นี้ตั้งแต่บทที่ 3 ของ eBook เล่มนี้เป็นต้นไปจึงเคยตีพิมพ์ในต่างกรรมต่างวาระมาก่อนแล้วทั้งสิ้น ยกเว้นบทที่ 2 เท่านั้นที่ผู้เขียนถือโอกาสนี้เขียนขึ้นใหม่เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผู้เขียนถือโอกาสนี้ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความเห็นต่อทางสํานักพิมพ์ว่า เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าเพียงพอแก่การจัดพิมพ์เพื่อการเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อสาธารณชนนอกเหนือไปจากนักศึกษาเท่านั้นยิ่งไปกว่านั้นผู้เขียนขอขอบคุณทุกท่าน ซึ่งมีจํานวนเกินกว่าที่จะกล่าวถึงได้หมดที่ช่วยถกเถียง ให้ข้อมูล กระทั่งช่วยเหลือในงานธุรการต่างๆ แน่นอนว่าความผิดพลาดใดๆ ของหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่ผู้เดียว อภิชาต สถิตนิรามัย

รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ 2563

ในรอบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ก้าวผ่านสถานการณ์มากมายที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพความเหลื่อมล้ำ ในขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว การเกิดขึ้นของวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ได้กลายเป็นสภาวะที่ส่งผลกระทบกับประชาชนทุกคนในประเทศ ทำให้ชีวิตทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แน่นอนว่าผลกระทบจากโควิด-19 ย่อมส่งผลให้สภาพความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มต้นผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหลากหลายแง่มุมของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย งานวิจัยของศูนย์ฯครอบคลุมทั้งการติดตามสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การศึกษารากฐานของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การทำความเข้าใจแง่มุมใหม่ๆของความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล แม้ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม ยังได้เดินหน้างานวิจัยเพื่อศึกษาแง่มุมต่างๆข้างต้น ทางศูนย์ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคมจึงได้รวบรวมและทำการสรุปเนื้อหาที่มีประโยชน์กับการติดตามสภาพความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยไว้ในรายงานฉบับนี้ โดยรายงานจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ประกอบไปด้วยส่วนแรก สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ซึ่งสรุปมาจากงานวิจัยที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากชุดข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ ส่วนที่สอง คือองค์ความรู้เรื่องความเหลื่อมล้ำ โดยในส่วนนี้จะเป็นการย่อยข้อค้นพบหลักจากงานวิจัยกว่าสิบชิ้นที่ศูนย์ฯได้มีบทบาทในการสนับสนุน และส่วนสุดท้ายของรายงานนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยจากวิกฤตโควิด-19

นโยบายสวัสดิการยุคหลังโควิด

จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด รัฐบาล จำเป็นต้องสร้างมาตรการป้องกันการระบาดของโรคไวรัส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการเหล่านั้นกลับทำให้เกิดการชะงักของเศรษฐกิจ คนจำนวนมากต้องประสบกับวิกฤตขาดรายได้ วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นช่องว่างของระบบสวัสดิการในสังคมไทย ถึงแม้ภาครัฐจะมีความพยายามในการชดเชยปัญหาการขาดรายได้ในระยะสั้น แต่นโยบายการชดเชยเหล่านั้นก็ไม่ได้กระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับผู้ที่เดือดร้อนได้อย่างทั่วถึง ในงานสัมมนาครั้งนี้จึงเชิญชวนมาพูดคุยถึงประเด็นระบบสวัสดิการในไทย ทั้งในเรื่อง ปัญหาช่องโหว่ของนโยบายสวัสดิการชดเชยรายได้ช่วงโควิด แนวทางการพัฒนานโยบายสวัสดิการของรัฐไทย ข้อถกเถียงเรื่องการใช้นโยบายรายได้ขั้นต่ำพื้นฐาน(Universal Basic Income) และประเด็นทางการคลังในการสร้างระบบสวัสดิการ ช่องโหว่ของนโยบายสวัสดิการชดเชยรายได้ช่วงโควิด โดย รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา จากการที่อาจารย์บุญเลิศได้อยู่ในทีมทำงานวิจัย “คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง” และ โครงการวิจัย “ผลกระทบของโควิด-19 ต่อชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้านและคนจนเมือง” จึงอยากนำเนื้อหาในงานวิจัยเหล่านี้มาเปิดเผยให้เห็นนัยยะของระบบสวัสดิการคนจน จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของคนจนเมืองเหล่านี้พบว่าส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่ทำงานนอกระบบ ซึ่งได้รับสวัสดิการไม่ทั่วถึง โดยมีถึง 31% ของกลุ่มศึกษาที่ไม่มีระบบสวัสดิการอะไรเลยรองรับ เมื่อเกิดวิกฤตคนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง 60% ของคนกลุ่มนี้รายได้หายไปเกือบหมดในช่วงวิกฤต ในขณะที่อีก 31% รายได้ลดลงถึงครึ่งหนึ่ง เมื่อนำมาประมวลเป็นรายได้เฉลี่ยแล้ว ก่อนวิกฤตคนกลุ่มนี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 13,397 บาทต่อเดือน เมื่อเกิดวิกฤตรายได้ของคนกลุ่มนี้เหลือเพียง 3,906 บาทต่อเดือน รายได้ลดลงประมาณ 70.89% การเกิดความโกลาหลที่หน้ากระทรวงการคลังจากผู้ที่ไม่ได้รับการชดเชยรายได้สะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐเองไม่ได้รู้จักคนจนมากนัก ความพยายามในการสกรีนผู้ที่มีสิทธิที่จะได้รับการชดเชยอย่างเข้มข้นส่งผลให้มีผู้ตกสำรวจเป็นจำนวนมาก โดยช่องเดือนเมษายนมีผู้ลงทะเบียนในการรับเงินสำเร็จเพียง 50% และได้รับเงินชดเชยเพียง 12% ภายหลังที่มีแรงกดดันมากขึ้นจึงลดการพิสูจน์ลงส่งผลให้มีผู้ได้รับเงินชดเชยสูงถึง 85% […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : พลังผู้สูงวัย

ในงานวิจัยของศ.ดร.เอื้อมพร พิชัยสนิธได้นำเสนอเรื่องดัชนีพฤฒิพลัง หรือดัชนีพลังผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่าของผู้สูงอายุ โดยพิจารณาตัวชี้วัดสี่ด้านคือด้านสุขภาพกายภาพ การมีส่วนร่วมในสังคม ความมั่นคงในการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เอื้อต่อการสูงอายุอย่างมีคุณภาพ เช่น การอ่านออกเขียนได้ การครอบครองอุปกรณ์ ICT ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นหลักที่นำมาพูดคุยกัน สามอันแรกเป็นมิติที่โดดเด่นและอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ผลการศึกษาค้นพบว่าพลังของผู้สูงอายุลดน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปีพ.ศ. 2557 และ 2560 เมื่อนำความเหลื่อมล้ำในด้านพลังผู้สูงอายุเทียบกับความเหลื่อมล้ำด้านอื่น ๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้จะมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำในมิติของพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคพบว่าแต่ละภูมิภาคมีความเหลื่อมล้ำต่างกัน ความเหลื่อมล้ำทางเพศระหว่างชาย หญิงพบว่าเพศชายจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่า ความเหลื่อมล้ำในมิติของพื้นที่พบว่าพื้นที่นอกเขตเทศบาลจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่าในเขตเทศบาล ส่วนมิติของการศึกษาผู้ที่สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาขึ้นไปจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่าผู้สูงอายุที่สำเร็จการศึกษาน้อยกว่า 1.4 เท่า ในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวจะมีดัชนีสูงอายุสูงกว่าลูกจ้างในองค์กรเอกชนหรือราชการ และกลุ่มที่ทำงานจะมีพลังผู้สูงอายุมากกว่าคนที่อาศัยเงินบำนาญ เป็นต้น สำหรับสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านดัชนีผู้สูงอายุเมื่อเกิดโควิด 19 นั้น อาจพิจารณาได้ในสองประเด็นคือ 1) เรื่องความเพียงพอในเงินออมที่เก็บสะสมมา เชื่อมโยงไปเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ณ ปัจจุบัน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีเงินออมไม่พอ แสดงให้เห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องทำงาน ก่อนที่จะเกิดโควิดสภาพโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมเปราะบางมีความอ่อนไหวอยู่แล้ว เมื่อเจอสถานการณ์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีระบบสวัสดิการหรือโครงข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งรองรับ โดยโครงสร้างภาพรวมผู้สูงอายุที่มีรายได้มาจากบุตรมี 36-37%  และผู้สูงอายุที่ได้รายได้มาจากการทำงานมี 34% ดังนั้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ และหยุดการจ้างงานจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้สูงอายุ สำหรับวิธีการรับมือกับปัญหาเงินออมหรือเบี้ยผู้สูงอายุไม่เพียงพอนั้นในระยะยาวอาจต้องเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชนก่อนที่จะเป็นผู้สูงอายุ […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : ชีวิตคนไร้บ้านและเด็กเปราะบาง

คนไร้บ้านและเด็กเปราะบาง เริ่มต้นนั้นจะเริ่มจากลักษณะประเด็นพื้นฐานของกลุ่มคนไร้บ้านและคนเปราะบาง สำหรับคนไร้บ้านคือกลุ่มคนที่เผชิญภาวะทางปัญหา ลักษณะของการไร้บ้านคือผลลัพธ์ที่เกิดจากปัญหาหลากหลายปัญหาทับถม เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น สภาวการณ์ไร้บ้านจึงเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งของสภาวะปัญหาอันหลากหลายที่คนๆหนึ่งต้องประสบ ในขณะที่เด็กเปราะบางหรือเด็กด้อยโอกาสคือกลุ่มที่มีโอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ง่าย ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาต่างๆหลากมิติที่ทับถมเช่นกัน ในเบื้องต้นของงานสัมมนาครั้งนี้คือจะมาสำรวจผลกระทบของโควิดที่มีต่อกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งนี้จากการสำรวจจำนวนคนไร้บ้านเดิมที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสถานพักพิงของภาครัฐมีประมาณ 2700 คน ซึ่งหากรวมกับคนไร้บ้านที่อยู่ในสถานพักพิงภาครัฐจะมีประมาณ 7-8 พันคน โดยจากการเก็บสถิติอายุขัยเฉลี่ยของคนไร้บ้านในสังคมไทยจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปีซึ่งต่ำกว่าคนในสังคมปกติที่มีอายุขัยเฉลี่ยที่ประมาณ 75 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่คนไร้บ้านเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคติดต่อมากกว่าคนทั่วไปในสังคม ผลกระทบจากโควิด การเกิดขึ้นของโรคระบาดโควิด 19 นั้นเป็นปรากฎการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยและมีผลกระทบรุนแรง รัฐบาลในประเทศต่างๆจึงไม่ได้มีการเตรียมการรับมือที่เพียบพร้อมมากนัก การเกิดขึ้นของโควิดส่งผลให้มีจำนวนคนไร้บ้านหน้าใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากคนจำนวนหนึ่งตกงานและสูญเสียที่อยู่รวมถึงไม่สามารถกลับบ้านได้ ซึ่งคนไร้บ้านหน้าใหม่นี้ไม่ได้มีทักษะในการเอาตัวรอดในปรากฎการณ์ไร้บ้านได้ดีเท่ากับคนไร้บ้านที่เป็นอยู่มานาน(มีความเปราะบางที่หนักกว่า) ถึงแม้ว่ากระบวนการบริจาคและการช่วยเหลือจากคนในสังคมจะส่งผลให้คนไร้บ้านจำนวนมากสามารถเข้าถึงอาหารได้ แต่คนไร้บ้านที่เป็นผู้สูงอายุหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยวแยกตัวจากกลุ่มมีโอกาสสูงที่จะเข้าไม่ถึงอาหารเหล่านั้น มีการคำนวณคาดการณ์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของคนไร้บ้านเป็นหลายสถานการณ์ ตั้งแต่หากภาวะเศรษฐกิจหดตัวลงในระดับเลวร้ายน้อยที่สุดประมาณ 3% คนไร้บ้านจะเพิ่มขึ้นประมาณ 22.03% หากเลวร้ายที่สุดเศรษฐกิจหดตัวประมาณ 5.6% จะมีคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นประมาณ 30.14% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขการหดตัวทางเศรษฐกิจจากการประเมิณโดยสำนักเศรษฐกิจในที่ต่างๆมีการประเมินความร้ายแรงที่สูงกว่านั้น(เศรษฐกิจหดตัวอย่างน้อย 7%) การหดตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้จะทำให้สถานการณ์ของคนไร้บ้านจะกลับไปสู่สภาวะปกติแบบก่อนหน้านั้นได้ยาก รวมถึงแนวโน้มของการเติบโตของการใช้ automation เข้ามาใช้งานในภาคธุรกิจทำให้แนวโน้มการจ้างงานของแรงงานมีลักษณะที่ยืดหยุ่นระยะสั้นมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีคนว่างงานจำนวนมากขึ้นซึ่งสร้างความเปราะบางต่อความต้านทานต่อปัญหาทางสังคมต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่มี social safety net คนเหล่านี้มีโอกาสมากที่จะกลายเป็นกลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่ […]

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : แนวทางการศึกษาปฐมวัยสู่วัยรุ่น

โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง คณบดี คณะการศึกษาปฐมวัย และผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ผศ.ดร.ชญานี ชวะโนทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร. วีระชาติ กิเลนทอง             เริ่มต้นกับการคำถามที่ว่าโควิดมีปัญหากับเด็กปฐมวัยอย่างไร สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีการปิดเรียนก่อนโรคระบาด อ.วีระชาติเสนอว่าควรเปิดเทอมและมีวิธีการเปิดเทอมหลายแบบ เช่น เปิดโรงเรียนขนาดเล็กก่อน เนื่องจากกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ และโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนเด็กนักเรียนน้อย ไม่ได้มีความแออัด ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลกระทบทางอ้อมมากกว่า เช่น ผู้ปกครองอาจขาดรายได้ ผู้ปกครองอาจมีความเครียดสูง อาจส่งผลให้เด็กเครียดได้             หากเปิดเทอมไม่ได้ในระยะสั้นอาจไม่มีอะไรน่าห่วงในเรื่องของการเรียนรู้ แต่ที่สำคัญคือผู้ปกครองไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เพราะที่ผ่านมาโรงเรียนช่วยให้ทั้งความรู้และแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ช่วยให้ผู้หญิงสามารถทำงานได้มากขึ้น เมื่อทำงานไม่ได้ก็อาจขาดรายได้ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งปัญหาระยะยาวนั้นน่าเป็นห่วงและการเรียนออนไลน์อาจไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอกับเด็กปฐมวัย เนื่องจากทักษะทางพฤติกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญซึ่งพัฒนาผ่านปฏิสัมพันธ์ในโรงเรียน อย่างไรก็ตามผู้ปกครองควรเลือกได้ว่าจะส่งเด็กไปโรงเรียนได้หรือไม่ ทั้งนี้การเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์นั้นส่งผลต่อการพัฒนาทางพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยน้อยมาก             ในส่วนของการเรียนออนไลน์นั้นจากการสำรวจครูส่วนใหญ่มีความกังวลไม่เข้าใจว่าบทบาทของตนต้องทำอย่างไร ผู้ปกครองมองว่าในระยะสั้นอาจไม่มีผลกระทบมาก แต่ในระยะยาวก็มีความกังวลมาก ส่วนในเรื่องของการแจกแทบเลตนั้น ผู้ปกครองมีความต้องการได้เงินสดมากกว่าแทบเลต ที่น่าสนใจคือผลกระทบที่เกิดกับครอบครัวที่อาศัยเงินส่งกลับบ้านเป็นหลักแล้วได้รับเงินน้อยลง ครอบครัวส่วนใหญ่มีสมาชิกที่ไม่สามารถออกไปทำงานได้ และครอบครัวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง              อ.วีระชาติยังเสนอว่าหากเปิดโรงเรียนได้ก็ควรทำ […]

1 2