Kan

หลากชีวิต หลายผลกระทบ : โลกของ top 1%

โลกของ top 1% กลุ่มคน top 1% ในประเทศไทยนั้นมีประมาณ 5.2 แสนคนจากจำนวนคนไทยในกำลังแรงงาน 52 ล้านคน แต่ในกลุ่ม top 1% ก็มีความแตกต่างหลากหลายรวมทั้งความเหลื่อมล้ำในกลุ่มอยู่แบ่งเป็นกลุ่มมหาเศรษฐีซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็ก(เป็น top 1% ของกลุ่ม top 1%)ซึ่งมีรายได้ส่วนมากมาจากปัจจัยทุน และกลุ่มคนรายได้สูงที่มีรายได้จากส่วนแรงงานมากกว่ากลุ่มก่อนหน้า เช่น ผู้บริหารองค์กรระดับสูง CEO จะเห็นได้ว่าแม้แต่กลุ่มคนที่รวยที่สุดยังมีความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่ม เราจึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาดัชนีที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำอย่างดัชนี GINI ซึ่งดัชนี GINI นั้นถึงแม้จะบอกภาพรวมความเหลื่อมล้ำระดับประเทศได้ แต่ไม่สามารถบ่งบอกลักษณะของความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่มชนชั้นและระหว่างชนชั้นได้ รวมถึงไม่ได้บอกถึงพลวัตรของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันการเติบโตของคนกลุ่มรายได้ที่รวยที่สุด 1-2% แรกนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วสร้างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น GINI ไม่ได้ชี้ให้เห็นภาพนี้ได้ชัดเจนนัก ในหลายประเทศจึงมีการสร้างดัชนีมาพิจารณาคนกลุ่มที่รวยที่สุด เช่น การเทียบทรัพย์สินหรือรายได้ของคนที่รวยที่สุด 1% เทียบกับกลุ่มคนที่จนที่สุด 50% แต่อย่างไรก็ตามในการสร้างดัชนีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ต้องพบอุปสรรคที่สำคัญเนื่องจากการสำรวจรายได้มักจะตกหล่นการสำรวจกลุ่มคนที่รวยที่สุด เนื่องจากอาจจะไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่สามารถรายงานสินทรัพย์และรายได้ที่ตัวเองมีทั้งหมดได้ครบ ประวัติศาสตร์ของ top 1% เมื่อย้อนกลับมาดูแนวโน้มของความเหลื่อมล้ำและพลวัตรของกลุ่มคนที่รวยที่สุด 1% ตามประวัติศาสตร์แล้วนั้น พบว่าในช่วงก่อนที่จะมีสงครามโลกนั้น ในประเทศยุโรปมีความเหลื่อมล้ำสูงคนกลุ่มที่รวยที่สุด 1% ครอบครองส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจถึง […]

โควิด 19 กับการออกแบบระบบสวัสดิการใหม่

ประวัติศาสตร์การสวัสดิการในประเทศไทย โดย ดร.ภาคภูมิ แสงกนกกุล ตามข้อค้นพบในบริบทประวัติศาสตร์รัฐไทยถูกนิยามว่าเป็น weak state ในเรื่องบทบาทด้านสวัสดิการเนื่องมาจากการที่รัฐมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรไม่สามารถกระจายทรัพยากรและอำนาจในการปกครองดูแลได้ครบถ้วน เมื่อจัดสรรทรัพยากรเป็นสวัสดิการให้คนกลุ่มน้อยแล้วก็ไม่เหลือสวัสดิการจะจัดสรรให้คนกลุ่มใหญ่ ดังนั้นสังคมไทยปรับตัวสร้างระบบการกุศลขึ้นมาเป็นสวัสดิการชั้นที่สองรองรับผู้ที่ตกหล่นไม่ได้สวัสดิการภาครัฐ นอกเหนือจากกลุ่มการกุศลแล้วสังคมไทยยังมีสถาบันครอบครัว(และชุมชน)เป็นสวัสดิการรองรับเป็นชั้นที่สามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากสวัสดิการสองประเภทก่อนหน้า อย่างไรก็ดีเมื่อระบบเศรษฐกิจพัฒนามากขึ้นเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม ครอบครัวและชุมชนไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะวางตัวเป็นสถาบันสวัสดิการรองรับลำดับสุดท้าย เนื่องมาจากลักษณะของความเป็นปัจเจกที่สูงขึ้น ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ประกอบกับบริบททางการเมืองเศรษฐกิจโลกหลัง 1980 รัฐต้องลดบทบาทในการให้สวัสดิการลง และต้องปล่อยให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ผ่านการสร้างสถาบันอย่างกองทุนประกันสังคม ภายหลังการเกิดวิกฤตในปี 1997 ส่งผลให้บริษัทปิดตัวแรงงานถูกเลิกจ้างงาน กองทุนประกันสังคมไม่สามารถแบกรับสภาวะวิกฤตแรงงานได้ ประกอบกับสถาบันครอบครัวและชุมชนไม่เข้มแข็งเพียงพอจะรองรับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ได้ ในหลายประเทศจึงกลับมาให้ความสำคัญในสิทธิสวัสดิการมากขึ้น ให้รัฐเข้าไปช่วยจัดสรรสวัสดิการให้กับภาคประชาชนโดยหาแหล่งทุนจากระบบภาษี แต่ในประเทศไทยนั้นมีทิศทางที่ต่างออกไปกล่าวคือทุกครั้งที่มีรัฐประหารการจัดสวัสดิการภาครัฐจะย้อนกลับไปใช้ระบบการจัดสรรแบบ authoritarian ซึ่งจัดสรรให้เฉพาะคนกลุ่มน้อย สวัสดิการที่ควรเป็นในช่วงวิกฤตโควิด 19 โดย ดร.ภาคภูมิ แสงกนกกุล ในหลักคิดเบื้องต้นหากจะออกแบบสวัสดิการต้องวางเป้าหมายเพื่อ “ทำให้สวัสดิการสังคมไม่แย่ลงมากนักโดยไม่ติดโรค และต้องพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป” เมื่อได้เป้าหมายก็ต้องมาพิจารณาเครื่องมีในการจัดสรรสวัสดิการนั้นๆ ควรให้เป็นเงินหรือสิ่งของ การให้เป็นเงินสภาพคล่องสูง แต่ผลที่ตามมาอาจจะทำให้เกิดเงินเฟ้อหากอัดฉีดมากเกินไป นอกจากนี้ให้เป็นเงินอาจจะไม่มีประโยชน์มากนักถ้ากลไกตลาดไม่ทำงานในช่วงวิกฤต ในขณะที่การให้ของอาจจะยากที่จะตรงความต้องการ แต่ในพื้นฐานรัฐอาจจะต้องให้แบบผสม เช่น ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย น้ำ ไฟฟ้า หรือเครดิตออนไลน์ นอกจากนี้ต้องมาพิจารณาเป้าหมายที่เราจะให้ว่าควรเจาะจงเฉพาะกลุ่ม ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีข้อมูลติดตามและมั่นใจว่าสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบในพื้นที่จำกัดการให้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างดี หรือจะให้แบบถ้วนหน้าซึ่งแต่ละคนก็จะได้น้อยลงไป แต่เหมาะสมกับสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างและต้องรีบดำเนินการเร่งด่วนในการเยียวยา ซึ่งเหมาะกับสภาวะสภาพปัจจุบันมากกว่า […]

ความเหลื่อมล้ำไทยก่อน หลังโควิด

ความเหลื่อมล้ำไทย 2531 – 2560 โดย ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ       ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ ได้นำเสนอการศึกษาความเหลื่อมล้ำไทยในปี 2531 – 2560 โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (Socio-Economic Survey: SES) ในการศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้ำที่ผ่านมาจะเน้นในมิติเรื่องรายได้ แต่มิติอื่น ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข ทรัพย์สินมักจะพิจารณาแยกกันในการศึกษานี้จะพิจารณาความเหลื่อมล้ำทั้งหกมติได้แก่ รายได้ การศึกษา การสาธารณสุข สินค้าคงทน ทรัพย์สินทางการเงิน และเทคโนโลยี โดยมิติด้านรายได้นั้น ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มค่อนข้างสูง แต่ในช่วงปี 2530 ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มลดลง โดยขึ้นมาเล็กน้อยในปี 2547- 2549 จนในช่วงปี 2560 ความเหลื่อมล้ำมีเกณฑ์เพิ่มขึ้นในปี เช่นเดียวกับในปี 2562 ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกันในแต่ละภูมิภาค จะพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีความแตกต่างกับภาคอื่น ทิศทางของความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นในสองภาคนี้ อย่างไรก็ตามภาคอื่นๆ ก็มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พบว่าในสามทศวรรษที่ผ่านมาไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก ในภาพรวม ไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่ ส่วนในภูมิภาค […]

โควิด 19 กับความเปลี่ยนแปลงของทุนนิยมไทย-โลก

ตัวแทนจากเอสเอ็มอี โดย สรวิศ อิสระโคตร เสียงจากตัวแทนของเจ้าของกิจการเอสเอ็มอีจะมาเล่าประเด็นที่สำคัญ 2 ประเด็นคือ วิธีการปรับตัวของกิจการภายใต้ภาวะวิกฤต และทัศนะต่อการช่วยเหลือของภาครัฐ ในประเด็นแรกกิจการของวิทยากรนั้นต้องพบกับสภาวะการขาดแคลนรายได้เนื่องจากอัตราการสั่งซื้อสินค้าของบริษัทลดลงถึง 50% ส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องลดลง อย่างไรก็ดีทางออกในการปรับตัวโดยไม่ปลดคนงานของวิทยากรนั้นมีการปรับงานที่แรงงานทำชั่วคราว จากส่วนการผลิตไปสู่การบำรุงรักษาสถานประกอบการเพื่อรอสถานการณ์ที่ดีขึ้น ทั้งนี้สถานการณ์คู่ค้าในประเทศจีนเริ่มดีขึ้นบ้างส่งผลให้ทางบริษัทเริ่มเห็นโอกาสอันดีในอนาคตอันใกล้ ส่วนเรื่องของนโยบายเยียวยาจากภาครัฐ ผู้ประกอบการมองว่ายังไม่ตอบสนองต่อปัญหาได้ตรงจุดมากนัก ประการแรกการเลื่อนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มและนโยบายการหักค่าใช้จ่ายส่วนค่าจ้างได้ 3 เท่านั้นไม่ตรงจุดเนื่องจากกิจการไม่มีรายได้ที่จะเสียภาษีอยู่แล้ว ประการที่สองรัฐออกมาตรการช่วยเหลือช้าไปไม่สามารถช่วยธุรกิจในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดได้ทัน ทั้งนี้วิทยากรเห็นว่านโยบายที่ควรจะใช้ได้แก่การสนับสนุนด้วย soft loan การถกเถียงในวงการนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอเมริกา โดย ดร.สิร นุกูลกิจ ในส่วนนโยบายการพยุงเศรษฐกิจของอเมริกานั้น จากการทำข้อมูลของวิทยากร พบว่ารัฐบาลอเมริกาได้ดำเนินนโยบายขาดดุลการคลังประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ทั้งนี้สัดส่วนรายจ่ายที่มุ่งเป้าเป็นเงินโอนรายหัว(ให้กับคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐต่อปี คนละ 1,200 เหรียญสหรัฐ)ใช้จ่ายประมาณ 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ รายจ่ายที่มุ่งเป้าไปที่บริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายจ่ายที่มุ่งสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นอยู่ที่ประมาณ 3.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ การที่รัฐบาลใช้จ่ายสนับสนุนบริษัทใหญ่จำนวนมากกว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กทำให้เป็นประเด็นถกเถียงที่ร้อนแรง ทั้งนี้ในวงการวิชาการเศรษฐศาสตร์ของอเมริกานั้น ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด 19 ขึ้นแนวโน้มของนักวิชาการด้านการเงินจะให้ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อ(Inflation Targeting) โดยธนาคารกลางจะออกนโยบายที่ถ่วงดุลย์นโยบายการคลังป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นแนวโน้มการถกเถียงเรื่องนโยบายนั้นมองข้ามปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ […]

โครงการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้าในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ร่วมกับศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CRISP) ได้จัดงานสัมมนานำเสนอผลงาน “โครงการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ” โดย ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ดร.อมรรัตน์ ลือนาม อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และอ.พิชญ์ จงวัฒนากุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ โดยมีผลการศึกษาตามลิงค์ด้านล่าง สรุปผลการศึกษาเบื้องต้น(FB)สไลด์นำเสนอ(PDF) ข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยข้อมูล Google Earth Engine(Excel)ข้อมูลประชากรและทะเบียนบ้านรายตำบล(Excel)(GIS)

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการลดความเหลื่อมล้ำ: บทวิเคราะห์ประสบการณ์จากต่างประเทศสำหรับสร้างข้อเสนอให้กับประเทศไทย

นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ประเทศไทยได้หันมาเน้นสวัสดิการในรูปแบบนี้มากขึ้น โดยเฉพาะในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้ว่านโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจะถูกมองว่าช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสวัสดิการจากการกระจายทรัพยากรไปที่เฉพาะกลุ่มคนที่ยากจน แต่ก็ยังมีคำถามอยู่มากถึงศักยภาพของนโยบายรูปแบบนี้ในการลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยเพราะยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้จริงหลากหลายประการ การใช้นโยบายรูปแบบนี้ยังเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆที่แวดล้อมระบบสวัสดิการและมีนัยยะสำคัญต่อความเหลื่อมล้ำ ด้วยเหตุนี้ การสำรวจประสบการณ์จากต่างประเทศ ทั้งในด้านของลักษณะการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนไปใช้ รวมถึงการจัดวางนโยบายเข้ากับสวัสดิการแบบอื่นๆ และที่สำคัญคือการวิเคราะห์นัยยะของการใช้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนในทางที่แตกต่างกันกับผลในการลดความเหลื่อมล้ำ จะเป็นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการออกแบบระบบสวัสดิการของประเทศไทย โดยเฉพาะในการตอบคำถามว่าจะมีทางเลือกใดบ้างในการนำเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมาใช้อย่างไรเพื่อตอบเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำ ดาวน์โหลดได้ที่ : นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการลดความเหลื่อมล้ำ  

1 2