News & Events

โควิด 19 กับความเปลี่ยนแปลงของทุนนิยมไทย-โลก

ตัวแทนจากเอสเอ็มอี โดย สรวิศ อิสระโคตร เสียงจากตัวแทนของเจ้าของกิจการเอสเอ็มอีจะมาเล่าประเด็นที่สำคัญ 2 ประเด็นคือ วิธีการปรับตัวของกิจการภายใต้ภาวะวิกฤต และทัศนะต่อการช่วยเหลือของภาครัฐ ในประเด็นแรกกิจการของวิทยากรนั้นต้องพบกับสภาวะการขาดแคลนรายได้เนื่องจากอัตราการสั่งซื้อสินค้าของบริษัทลดลงถึง 50% ส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องลดลง อย่างไรก็ดีทางออกในการปรับตัวโดยไม่ปลดคนงานของวิทยากรนั้นมีการปรับงานที่แรงงานทำชั่วคราว จากส่วนการผลิตไปสู่การบำรุงรักษาสถานประกอบการเพื่อรอสถานการณ์ที่ดีขึ้น ทั้งนี้สถานการณ์คู่ค้าในประเทศจีนเริ่มดีขึ้นบ้างส่งผลให้ทางบริษัทเริ่มเห็นโอกาสอันดีในอนาคตอันใกล้ ส่วนเรื่องของนโยบายเยียวยาจากภาครัฐ ผู้ประกอบการมองว่ายังไม่ตอบสนองต่อปัญหาได้ตรงจุดมากนัก ประการแรกการเลื่อนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มและนโยบายการหักค่าใช้จ่ายส่วนค่าจ้างได้ 3 เท่านั้นไม่ตรงจุดเนื่องจากกิจการไม่มีรายได้ที่จะเสียภาษีอยู่แล้ว ประการที่สองรัฐออกมาตรการช่วยเหลือช้าไปไม่สามารถช่วยธุรกิจในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดได้ทัน ทั้งนี้วิทยากรเห็นว่านโยบายที่ควรจะใช้ได้แก่การสนับสนุนด้วย soft loan การถกเถียงในวงการนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอเมริกา โดย ดร.สิร นุกูลกิจ ในส่วนนโยบายการพยุงเศรษฐกิจของอเมริกานั้น จากการทำข้อมูลของวิทยากร พบว่ารัฐบาลอเมริกาได้ดำเนินนโยบายขาดดุลการคลังประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ทั้งนี้สัดส่วนรายจ่ายที่มุ่งเป้าเป็นเงินโอนรายหัว(ให้กับคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐต่อปี คนละ 1,200 เหรียญสหรัฐ)ใช้จ่ายประมาณ 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ รายจ่ายที่มุ่งเป้าไปที่บริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายจ่ายที่มุ่งสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นอยู่ที่ประมาณ 3.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ การที่รัฐบาลใช้จ่ายสนับสนุนบริษัทใหญ่จำนวนมากกว่าบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กทำให้เป็นประเด็นถกเถียงที่ร้อนแรง ทั้งนี้ในวงการวิชาการเศรษฐศาสตร์ของอเมริกานั้น ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด 19 ขึ้นแนวโน้มของนักวิชาการด้านการเงินจะให้ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อ(Inflation Targeting) โดยธนาคารกลางจะออกนโยบายที่ถ่วงดุลย์นโยบายการคลังป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นแนวโน้มการถกเถียงเรื่องนโยบายนั้นมองข้ามปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ […]

โครงการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้าในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ร่วมกับศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CRISP) ได้จัดงานสัมมนานำเสนอผลงาน “โครงการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ” โดย ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ดร.อมรรัตน์ ลือนาม อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และอ.พิชญ์ จงวัฒนากุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ โดยมีผลการศึกษาตามลิงค์ด้านล่าง สรุปผลการศึกษาเบื้องต้น(FB)สไลด์นำเสนอ(PDF) ข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยข้อมูล Google Earth Engine(Excel)ข้อมูลประชากรและทะเบียนบ้านรายตำบล(Excel)(GIS)

สัมมนา “70 ปี รัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจการเมืองไทย”

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2562 คณะรัฐศาสตร์ได้จัดเสวนา “มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจการเมืองไทย : กับดักหรือแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” เนื่องในงานครบรอบ 70 ปี การสถาปนาคณะรัฐศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์

ซีรีย์สัมมนาชุด “ความเหลื่อมล้ำหลากมิติ”

สัมมนาครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำในมิติกระบวนการยุติธรรม” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 โดยมี คุณเยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ผู้อำนวยการ

ชุดสัมมนา “ขยับ เขย่า แนวคิดการพัฒนา วิเคราะห์วิพากษ์การพัฒนาจากมุมมองของนักคิดร่วมสมัย”

ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) ได้ร่วมมือกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดซีรี่ย์สัม…

งานสัมมนาจับตาเศรษฐกิจไทย 2562: รวยกระจุก จนกระจาย

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้จัดงานสัมมนาพิเศษก้าวเข้าสู่ 70 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 3 ร่วมกับ Thammasat Economic Focus ครั้งที่ 15 หัวข้อ “จับตาเศรษฐกิจไทย 2562: รวยกระจุก จนกระจาย?” ร่วมเสวนาโดย ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ, คุณกนิษฐ เมืองกระจ่าง, ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ และ อ.ดร.กิตติชัย แซ่ลี้ ได้กล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงในปี 2562 ที่จะต้องจับตามองได้แก่ (1) ผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน (2) แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศพัฒนาแล้ว (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และการเจรจา Brexit ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกและต่อเนื่องมายังการส่งออก ของไทย (4) การเลือกตั้งของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เป็นความเสี่ยงภายในที่กระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ของภาคเอกชน (5) การลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ซึ่งการลงทุนภาครัฐในปีที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายที่ล่าช้า […]

กิจกรรม “โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ สกว.”

ในวันที่ 22 สิงหาคม 2561 ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดกิจกรรม “โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ สกว.” เพื่อขอรับทุนวิจัย สกว. และพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยต่างสถาบัน

การประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษางานวิจัยกับฝ่ายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัย

ในวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคมจัดการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษางานวิจัยกับฝ่ายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัย ทั้งหมด 3 งาน ได้แก่ หัวข้อ “Two Thailand Two Dimensions” ประกอบด้วย 2 ชิ้นงาน ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ นัยเชิงเศรษฐกิจไทย โดย พรชนก เทพขาม ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ครัวเรือนไทย ในมิติด้านอาชีพ โดย ณัฎฐภัทร์ กิ่งเนตร และ ดวงทิพย์ ศิริกาญจนารักษ์ หัวข้อ “แรงงานนอกระบบ” ประกอบด้วย 1 ชิ้นงาน แรงงานนอกระบบ เขาคือใคร เป็นอยู่อย่างไร? โดย พราวฟอง จามรจันทร์

1 2 3