
เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้จัดงานสัมมนาพิเศษก้าวเข้าสู่ 70 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 3 ร่วมกับ Thammasat Economic Focus ครั้งที่ 15 หัวข้อ “จับตาเศรษฐกิจไทย 2562: รวยกระจุก จนกระจาย?” ร่วมเสวนาโดย ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ, คุณกนิษฐ เมืองกระจ่าง, ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ และ อ.ดร.กิตติชัย แซ่ลี้ ได้กล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงในปี 2562 ที่จะต้องจับตามองได้แก่ (1) ผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน (2) แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศพัฒนาแล้ว (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และการเจรจา Brexit ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกและต่อเนื่องมายังการส่งออก ของไทย (4) การเลือกตั้งของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เป็นความเสี่ยงภายในที่กระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ของภาคเอกชน (5) การลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ซึ่งการลงทุนภาครัฐในปีที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายที่ล่าช้า กว่าแผนค่อนข้างมาก (6) การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนที่ค่อนข้างสูงอาจจะส่งผลต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน การปรับตัวขึ้นของเศรษฐกิจที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากแรงสนับสนุนของสาขาทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้ปัจจัย การผลิตแรงงานและทุนในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดต่อปัจจัยการผลิตย่อมแตกต่างกัน หากพิจารณา โครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเจ้าของปัจจัยทุนประมาณสองเท่า ของปัจจัยแรงงาน และถ้าหากพิจารณาด้วยการแบ่งชั้นครัวเรือนตามรายได้จะพบว่า ครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด 10% จะได้รับผลประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจกว่าครัวเรือนที่มรายได้ตำ่กว่า หรือที่มักจะเรียกกันว่า รวย กระจุก จนกระจาย ดังนั้น เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ดังกล่าว รัฐบาลควรมีมาตรการในการกระจายรายได้ ให้กับครัวเรือนที่ยากจน