ภาคเศรษฐกิจในระบบที่เป็นทางการหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีการบันทึกรายได้รายจ่าย และรายละเอียดข้อมูลต่างๆอยู่ในระบบทางการ ซึ่งผู้ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ จะมีข้อมูลรายได้ประจำอยู่ในระบบ มีการจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม และหากรายได้ถึงระดับขั้นต่ำที่จะต้องเสียภาษี ก็จะต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ด้วย
ภาคเศรษฐกิจนอกระบบที่เป็นทางการหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการบรรทุกรายได้รายจ่าย และรายละเอียดข้อมูลต่างๆอยู่ในระบบทางการ ซึ่งผู้ที่อยู่นอกระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ อาจจะมีรายได้มากหรือน้อยก็ได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวจะไม่มีการบันทึกเข้าในระบบ และไม่มีว่าจะมีระดับรายได้เท่าใด ก็มีกฎหมายบังคับให้การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
งานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศไทยจำนวนมาก ได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นความเหลื่อมล้ำแนวตั้ง (Vertical Inequality) หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลที่อยู่กันคนละชั้นรายได้ อันเกิดจากปัจจัยด้านสถานะเศรษฐกิจ สังคม หรือ วัฒนธรรม เป็นต้น แต่ยังมีงานวิจัยไม่มากนัก ที่ให้ความสนใจในประเด็นความเหลื่อมล้ำแนวนอน (Horizontal Inequality) หรือความเหลื่อล้ำระหว่างบุคคลที่อยู่ในชั้นรายได้เดียวกัน อันเกิดจากปัจจัยในลักษณะเดียวกันกับที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแนวตั้ง เช่น การทำงานอยู่ในระบบและนอกระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลในองค์กรเดียวกัน มีคุณสมบัติและรายได้ใกล้เคียงกัน แต่มีสถานะบรรจุเข้าในองค์กรที่แตกต่างกัน
ปัจจุบันรัฐบาลมีการช่วยเหลือและสวัสดิการต่างๆ โดยเน้นไปที่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ซึงงานวิจัยที่ผ่านมา (ในหัวข้อวรรณกรรม) แสดงให้ถึงการลดความเหลื่อมล้ำในแนวตั้ง (Vertical Inequity) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของความเหลื่อมล้ำแนวนอน (Horizontal Inequity) อาจพบว่าคนที่มีรายได้น้อยด้วยกัน หรือรายได้ระดับเดียวกัน หากอยู่ในระบบกลับได้รับสวัสดิการสุทธิน้อยกว่าคนที่อยู่นอกระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการ ปรากฏการเช่นนี้ สะท้อนถึงช่องว่างของงานวิจัย ที่ยังไม่ได้พิจารณาในมิติแนวนอน และยังไม่มีข้อค้นพบที่ประจักษ์ ว่านโยบายสวัสดิการและภาษี (พิจารณาแบบควบคู่กันเป็นองค์รวม) ที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ส่งผลกระทบอย่างไรต่อความเหลื่อมล้ำระหว่างคนทำงานที่มีรายได้เท่ากันในแต่ละชั้นรายได้ แต่อยู่ในระบบกับนอกระบบเศรษฐกิจทางการ บั่นทอนความยินดีของคนทำงานที่จะเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางการอย่างไร และขนาดมีผลกระทบต่อฐานภาษีเงินได้ภาครัฐอย่างไร ประเด็นนี้มีนัยยะสำคัญต่อการนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายทีเกิดความสมดุลในการพัฒนาคนและระบบเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาในมิติแนวนอนด้วย เพื่อให้นโยบายสามารถครอบคลุมผู้ที่มีรายได้น้อยในทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาค