warong

ซีรีย์สัมมนาชุด “ความเหลื่อมล้ำหลากมิติ”

สัมมนาครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำในมิติกระบวนการยุติธรรม” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 โดยมี คุณเยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ผู้อำนวยการ

ชุดสัมมนา “ขยับ เขย่า แนวคิดการพัฒนา วิเคราะห์วิพากษ์การพัฒนาจากมุมมองของนักคิดร่วมสมัย”

ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) ได้ร่วมมือกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดซีรี่ย์สัม…

งานสัมมนาจับตาเศรษฐกิจไทย 2562: รวยกระจุก จนกระจาย

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้จัดงานสัมมนาพิเศษก้าวเข้าสู่ 70 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 3 ร่วมกับ Thammasat Economic Focus ครั้งที่ 15 หัวข้อ “จับตาเศรษฐกิจไทย 2562: รวยกระจุก จนกระจาย?” ร่วมเสวนาโดย ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ, คุณกนิษฐ เมืองกระจ่าง, ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ และ อ.ดร.กิตติชัย แซ่ลี้ ได้กล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงในปี 2562 ที่จะต้องจับตามองได้แก่ (1) ผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน (2) แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศพัฒนาแล้ว (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และการเจรจา Brexit ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกและต่อเนื่องมายังการส่งออก ของไทย (4) การเลือกตั้งของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เป็นความเสี่ยงภายในที่กระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ของภาคเอกชน (5) การลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ซึ่งการลงทุนภาครัฐในปีที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายที่ล่าช้า […]

กิจกรรม “โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ สกว.”

ในวันที่ 22 สิงหาคม 2561 ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดกิจกรรม “โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ของ สกว.” เพื่อขอรับทุนวิจัย สกว. และพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยต่างสถาบัน

การประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษางานวิจัยกับฝ่ายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัย

ในวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคมจัดการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษางานวิจัยกับฝ่ายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัย ทั้งหมด 3 งาน ได้แก่ หัวข้อ “Two Thailand Two Dimensions” ประกอบด้วย 2 ชิ้นงาน ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ นัยเชิงเศรษฐกิจไทย โดย พรชนก เทพขาม ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ครัวเรือนไทย ในมิติด้านอาชีพ โดย ณัฎฐภัทร์ กิ่งเนตร และ ดวงทิพย์ ศิริกาญจนารักษ์ หัวข้อ “แรงงานนอกระบบ” ประกอบด้วย 1 ชิ้นงาน แรงงานนอกระบบ เขาคือใคร เป็นอยู่อย่างไร? โดย พราวฟอง จามรจันทร์

ชุดงานสัมมนา Thammasat Resolution Talk “ตั้งโจทย์-ตอบอนาคต: วาระการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง”

ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) ได้ร่วมมือกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดซีรี่ย์สัมมนา Thammasat Resolution Talk “ตั้งโจทย์-ตอบอนาคต: วาระการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง” โดยจัดสัมมนาขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง ภายใต้โจทย์สำคัญ 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ, การกระจายอำนาจและปฎิรูปราชการ และการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในแวดวงวิชาการและผู้เชี่ยวชาญนอกวงวิชาร่วมพูดคุยหารือในประเด็นดังกล่าว สัมมนา Thammasat Resolution Talk “ตั้งโจทย์-ตอบอนาคต: วาระการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง” ในหัวข้อ “การกระจายอำนาจและการ ปฏิรูประบบราชการ” สัมมนาในหัวข้อ “การกระจายอำนาจและการปฏิรูประบบราชการ” จัดขึ้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร. วสันต์ เหลืองประภัสร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผศ.ดร. อรทัย ก๊กผล จาก สถาบันพระปกเกล้า, รศ.ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย จากศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม และพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา […]

สัมมนา “ความรู้และความไม่รู้ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: มายาคติและทางออก”

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ความรู้และความไม่รู้ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: มายาคติและทางออก” โดยมี ศ.สุริชัย หวันแก้ว, ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา, ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม และ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล เปิดเผยถึงความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินของประเทศไทยว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สินของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการถือครองที่ดินหรือทรัพย์สินทางการเงิน และเสนอแนะว่านโยบายที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ นอกจากจะใช้นโยบายทางด้านรายได้แล้ว จะต้องมีนโยบายที่เน้นไปที่การกระจายการถือครองทรัพย์สินให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นด้วย จึงจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ศ.สุริชัย หวันแก้ว กล่าวถึงประเด็นถกเถียงกรณีปัญหาเหลื่อมล้ำที่มองคนที่ไม่ประสบความสำเร็จเป็นปัญหาปัจเจก ศ.สุริชัย หวันแก้ว เสนอว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำต้องคำนึงถึงมุมมองเรื่องทางเลือกในชีวิตของคน โครงสร้างสังคม และนโยบายที่มีผลกระทบต่อประชาชนทุกคนด้วย นอกจากนี้ยังเสนอให้ภาควิชาการทำงานร่วมกันให้หนักขึ้นเพื่อทำให้สังคมเห็นภาพปัญหาเชิงโครงสร้างได้ชัดเจน ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา กล่าวถึงประเด็นการเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำด้วยดัชนีต่าง ๆ เช่นค่าสัมประสิทธิ์จีนีและดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) นอกจากนี้ ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา ยังเสนอแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การกระจายอำนาจเพื่อสร้างความรู้ที่หลากหลาย และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก

สัมมนา “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจว่าด้วยโลกาภิวัฒน์กับความเหลื่อมล้ำในอดีต”

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจว่าด้วยโลกาภิวัฒน์กับความเหลื่อมล้ำในอดีต (Globalization and Inequality: A Case of Early Modern Siam)” โดย ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม งานสัมมนาครั้งนี้กล่าวถึงกลไกความเชื่อมโยงระหว่างโลกาภิวัฒน์ในอดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชการที่ 4 และโยงมาสู่นัยยะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งเกิดข้อสรุปว่า ในอดีต ประเทศมหาอำนาจตัดสินใจครอบครองประเทศขนาดเล็กด้วยปัจจัยด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากนั้น ความก้าวหน้าทางการผลิตจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลต่อการล้มเลิกระบบบังคับเกณฑ์แรงงาน โครงสร้างเชิงสถาบันในประเทศขนาดเล็กจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง เหตุผลที่โลกาภิวัฒน์ไม่ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในช่วงศตวรรษที่ 17 เนื่องจากการส่งต่อเทคโนโลยีและท่าทีของประเทศมหาอำนาจที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสถาบันของสยาม ในขณะที่ในศตวรรษที่ 19 โลกาภิวัฒน์ส่งผลกระทบต่อระบบบังคับเกณฑ์แรงงาน การควบคุมที่ดินและปัจจัยการผลิต จึงได้ข้อสรุปว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกทำให้การกระจุกตัวของความเหลื่อมล้ำในประเทศเล็กไม่สามารถดำรงได้ต่อไป ทั้งนี้เทคโนโลยีมีนัยยะต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมาก การกระจายทรัพยากรทางเทคโนโลยีและความรู้อย่างเท่าเทียม โดยปราศจากการควบคุมโดยกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงเป็นกุญแจหลักในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในอนาคต 

1 2 3